ข้อมูลเพื่อการศึกษาฟอเร็กซ์


บทที่ 12. ดอกเบี้ยธนาคาร

เราได้ชี้แจงแล้วว่าการซื้อขายมาร์จิ้นเป็นการใช้เงินทุนกู้ยืมเมื่อเทรดเดอร์ยืมสินทรัพย์จากโบรกเกอร์ของเขาเพื่อดำเนินการในฟอเร็กซ์ เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ดีขึ้นในบทนี้มาศึกษาหลักการหมุนเวียนของสินทรัพย์เงินสดในรัฐ ลองนึกภาพว่าพอมีรัฐใหม่ก่อตัวขึ้นมา จะมีประชากรวัยทำงานแต่ยังไม่มีเงินเข้ารัฐดังนั้นจะทำอย่างไรได้ในกรณีนี้? ธนาคารกลางของรัฐเสมือนจริงของเรามอบหมายให้โรงกษาปณ์ออกธนบัตรในรูปแบบมาตรฐาน สมมติว่ามีการออกธนบัตร แต่จะมีวิธีการแจกจ่ายในหมู่ประชากรได้อย่างไร? จำนวนธนาคารพาณิชย์เกิดขึ้นในรัฐเพื่อกู้ยืมเงินจากธนาคารกลาง ตามที่เราทราบไม่ได้รับเครดิตโดยไม่มีจุดประสงค์พิเศษ ดอกเบี้ยของเครดิตต้องมีการชำระด้วยวิธีการต่างๆ นี่คือช่วงเวลาสำคัญของการกำหนดนโยบายการเงิน  ธนาคารกลางกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์จะได้รับเครดิตไป ในประเทศต่างๆอัตราดังกล่าวมีความแตกต่างกัน ในรัสเซียเรียกว่าอัตราการรีไฟแนนซ์ (อัตราดอกเบี้ย) ในประเทศอื่นอาจเรียกว่าอัตราดอกเบี้ย, อัตราฐานเงิน, อัตราสำคัญและอื่นๆ อย่างไรก็ตามมากลับไปที่ยังรัฐเสมือนจริงของเรากัน ตอนนี้ธนาคารพาณิชย์มีเงินและในทางกลับกันพวกเขาก็เริ่มปล่อยเงินกู้ให้กับองค์กรในอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าอัตราการรีไฟแนนซ์ ด้วยวิธีนี้เองธนาคารพาณิชย์จะได้กำไรจากส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยเครดิจ องค์กรต่างๆจัดทำธุรกิจ, จ้างพนักงานและจ่ายเงินเดือนให้ มันเป็นผลมาจากกระบวนการทางธุรกิจในองค์กรที่มีการผลิตสินค้า (หรือให้บริการ) องค์กรต่างๆได้รับผลกำไรและจ่ายคืนทุนทรัพย์สินและดอกเบี้ยที่ยืมมาให้กับธนาคารพาณิชย์ ในทางกลับกันธนาคารพาณิชย์ก็คืนเครดิตให้กับธนาคารกลาง เป็นผลทำให้มีการกระจายเงินผ่านรัฐ แน่นอนว่านี่เป็นวิธีการแบบธรรมดา แต่ที่มีความสำคัญอย่างมากสำหรับการศึกษาการซื้อขายทุนที่ยืมมาในฟอเร็กซ์ 

อัตราดอกเบี้ยเป็นหนึ่งในตัวควบคุมที่สำคัญของอัตราเงินเฟ้อ อัตราเงินเฟ้อคือการเติบโตเชิงปริมาณของสินทรัพย์เงินสดในการหมุนเวียน กล่าวอีกนัยหนึ่งคือเมื่อจำนวนธนบัตรในการหมุนเวียนเพิ่มขึ้น ก็สามารถซื้อสินค้าเพิ่มเติมสำหรับพวกเขาได้ ในสถานการณ์เช่นนี้องค์กรต่างๆจึงพยายามเพิ่มราคาสินค้าและบริการ ซึ่งเป็นผลทำให้เงินมีมูลค่าลดลง เพื่อชะลอการเติบโตของอัตราเงินเฟ้อจึงจำเป็นต้องลดจำนวนสินทรัพย์ที่เงินสดเป็นเงินหมุนเวียน ดังนั้นรัฐจึงปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย การเพิ่มขึ้นของดอกเบี้ยที่ใช้เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อ ตั้งแต่แรกเห็นไม่ได้ปรากฎออกมา ยิ่งอัตราดอกเบี้ยสูงเท่าใด ดอกเบี้ยของสินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์มอบให้กับองค์กรก็จะสูงขึ้นเท่านั้น เป็นผลให้องค์กรมีหนี้สินน้อยลง การผลิตชะลอตัวลง เงินเดือนจะได้รับน้อยลงและเป็นผลให้ปริมาณของสินทรัพย์เงินสดในการหมุนเวียนลดลง จากผลข้างเคียงของ "การแทรกแซง" นี้ทำให้ระดับการว่างงานเพิ่มขึ้นในรัฐเนื่องจากมีการลดการผลิต ในกรณีนี้เองเราจะเห็นว่ากระบวนการทั้งหมดในรัฐจึงมีความสัมพันธ์กัน

ทำไมเทรดเดอร์ถึงต้องทราบสิ่งเหล่านี้? มาลองพิจารณากันที่ตัวอย่างเมื่อเราตั้งใจจะซื้อเงินดอลลาร์สหรัฐสำหรับเงินเยนของญี่ปุ่น เราเปิดบัญชีด้วยเงิน 1,000ดอลลาร์กับโบรกเกอร์ เราได้พูดคุยกันแล้วว่าหลักการการซื้อขายมาร์จิ้นช่วยให้เราสามารถซื้อเงินดอลลาร์เพื่อเป็นเงินเยนได้แม้ว่าเราจะไม่มีเงินเยนก็ตาม อย่างไรก็ตามเราควรทราบว่าเรายืมเงินเยนเหล่านี้จากโบรกเกอร์! เราซื้อเงินดอลลาร์ให้พวกเขา (นายหน้าซื้อให้เรา) อีกหนึ่งช่วงเวลาสำคัญคือ เงินดอลลาร์ที่ซื้อยังคงอยู่ที่โบรกเกอร์ เราไม่ทิ้งมันไป สิ่งเดียวที่เราทำได้คือการขายเงินดอลลาร์เหล่านี้คืนไปเป็นเงินเยน นั่นคือการปิดสถานะด้วยกำไรหรือการขาดทุน โดยหมายความว่าโบรกเกอร์เป็นเจ้าของดอลลาร์ที่ซื้อมา กล่าวอีกนัยหนึ่งคือเราให้นายหน้ายืม 

เราได้อธิบายกันแล้วว่าถ้าเรายืมทรัพย์สินนั้น เราต้องจ่ายในอัตราเงินกู้ที่สอดคล้องกัน เนื่องจากข้อตกลงทั้งหมดของฟอเร็กซ์ทำได้ในระดับระหว่างธนาคารจึงมีการใช้อัตราดอกเบี้ยซึ่งธนาคารกลางเป็นผู้กำหนด ในกรณีนี้หากเราได้ยืมเงินดอลลาร์สหรัฐไปแล้ว เราจะจ่ายคืนตามอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารกลางแห่งสหรัฐกำหนด ถ้าเรายืมตามเงินเยนญี่ปุ่น เราจะจ่ายคืนอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดโดยธนาคารกลางญี่ปุ่น (ธนาคารแห่งญี่ปุ่น) ในประเทศต่างๆอัตราดอกเบี้ยจะแตกต่างกัน

อัตราดอกเบี้ยแสดงออกมาเป็นอัตราดอกเบี้ยรายปีเป็นเปอร์เซ็นต์ (%) ตัวอย่างเช่นหากอัตราดอกเบี้ยในญี่ปุ่นอยู่ที่ 0.5% และ 0.3% ในสหรัฐอเมริกา มันหมายความว่าสำหรับเงินเยนของญี่ปุ่นที่ยืมมาจากโบรกเกอร์เราต้องจ่ายไป 0.5% ต่อปีจากยอดรวมของเงินกู้ ในทางกลับกันโบรกเกอร์จ่าย 3.0% ต่อปีสำหรับดอลลาร์สหรัฐที่ยืมมาจากทางเรา โปรดทราบว่าแนวทางนี้ใช้งานได้เฉพาะในกรณีที่สถานะการซื้อที่เปิดบนคู่สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐและเยน (USD / JPY) ยังไม่ได้ปิดในช่วงสองสามวันนี้ มันหมายความว่าอัตราดอกเบี้ยจะถูกคำนวณในทุกวันจากตำแหน่งที่เปิดไว้! ถ้าเราปิดตำแหน่งในวันที่เราเปิดไว้ จากนั้นอัตราดอกเบี้ยจะไม่ถูกนำมาคำนวณ สมมติว่าตำแหน่งของเราเปิดขึ้นในช่วงหนึ่งเดือนและในตอนท้ายของเดือน เราตัดสินใจปิดตำแหน่งนั้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจง่ายสมมติว่าราคา BID เท่ากับราคา ASK อัตราของคูา่สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐและเยน (USD / JPY) แทบจะไม่เปลี่ยนแปลงในเดือนนั้น เราไม่ได้รับส่วนต่างระหว่างอัตรานั้น แล้วอัตราเงินกู้ล่ะ? เราต้องจ่ายเงินให้โบรกเกอร์ 0.5% ต่อปีทุกเดือนเช่นประมาณ 0.5% / 12 = 0.04% ของจำนวนเงินที่กู้ยืม เราควรจ่ายเงินจำนวนนี้เป็นเงินเยน แต่การคำนวณทั้งหมดจะถูกแปลงเป็นสกุลเงินของบัญชีเรา ในกรณีนี้เงินดอลลาร์สหรัฐจากอัตราการขายในการเสนอราคาคู่สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐและเยน (USD / JPY) โบรกเกอร์ต้องจ่ายเงินให้เรา 3.0% ต่อปีต่อเดือนนั่นคือ 3.0% / 12 = 0.25% ของจำนวนเงินที่ยืมมาเป็นสกุลเงินดอลลาร์ เราต้องเข้าใจว่ายอดเงินที่ยืมมาซึ่งเราถือครองอยู่เป็นสกุลเงินเยนและยอดรวมที่ยืมมาเป็นเงินดอลลาร์นั้นจะเทียบเท่ากับปริมาตรของตำแหน่งที่เปิด นั่นคือปริมาณของล็อตหนึ่ง, ล็อตมินิหรือไมโครล็อต โดยขึ้นอยู่กับปริมาณล็อตที่เราใช้งาน สมมติว่าตำแหน่งนั้นเปิดด้วย 1 มินิล็อต (1 มินิล็อตเท่ากับ 10,000 ดอลลาร์) จากนั้นในตัวอย่างของเรา เราจะได้รับส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ย 0.25% - 0.04% = 0.21% ของปริมาณมินิล็อตนั่นคือประมาณ 10,000 * 0.0021 = $ 21

ควรพิจารณาด้วยว่าหากเราเปิดตำแหน่งการขายในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ (ที่กำลังขายเงินดอลลาร์เพื่อเงินเยนญี่ปุ่น) เราจะสูญเสียเงินไป 21 ดอลลาร์จากส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ย ไม่ว่าคุณจะได้รับหรือขาดทุนจากส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ย ก็จะขึ้นอยู่กับสกุลเงินที่ซื้อขายและประเภทของตำแหน่งที่เปิด (แบบซื้อหรือแบบขาย) จำนวนเงินที่จ่ายในอัตราดอกเบี้ยคืออัตราดอกเบี้ยธนาคาร ในการซื้อขายมาร์จิ้นนั้นดอกเบี้ยธนาคารจะมาจากสกุลเงินที่ทำการซื้อและจ่ายออกสำหรับสกุลเงินที่ขาย

อย่างที่เราเห็นได้ว่าสามารถสร้างรายได้จากฟอเร็กซ์ ไม่เพียงแต่จากความผันผวนของอัตราสกุลเงินเท่านั้น  แต่ยังรวมถึงส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยอีกด้วย ประเภทของการซื้อขายที่ใช้การคาดการณ์ว่าจะได้รับผลคตอบแทนระหว่างอัตราดอกเบี้ยนั้นจะเรียกว่าการซื้อขายแบบทำการกู้ยืม ทุกโบรกเกอร์ไม่ได้จ่ายตามดอกเบี้ยธนาคารเพราะมีบางรายที่ได้รับประโยชน์จากอัตราดอกเบี้ย แต่ก็ไม่ต้องจ่ายคืนให้ อัตราดอกเบี้ยปัจจุบันของโบรกเกอร์บางแห่งอาจแตกต่างจากอัตราที่กำหนดโดยธนาคารกลางของประเทศนั้นๆ และอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามระยะเวลา นั่นคือเหตุผลที่ควรปรึกษากับโบรกเกอร์ในข้อสงสัยเกี่ยวกับการจ่ายดอกเบี้ยธนาคารก่อนที่คุณจะเปิดบัญชีกับโบรกเกอร์แห่งนั้น! เมื่อเปิดตำแหน่งแล้ว คุณควรทำความเข้าใจอย่างชัดเจนถึงองค์ประกอบของรายได้และการใช้จ่ายของคุณเพื่อที่จะไม่เปิดตำแหน่งที่จะทำให้ขาดทุนหรือไม่ปิดตำแหน่งด้วยการขาดทุน ในกรณีนี้ตำแหน่งควรปิดเมื่อดูแล้วว่ามันครอบคลุมสเปรดและการใช้จ่ายในดอกเบี้ยธนาคาร 

แนวคิดเรื่องดอกเบี้ยของธนาคารและอัตราดอกเบี้ยอาจทำให้มือใหม่เกิดความลำบากใจนั่นคือเหตุผลที่ว่าหากคุณไม่ต้องการอยู่ในสถานการณ์ยากลำบากตามนี้ ก็อย่าปล่อยตำแหน่งเปิดไว้ข้ามคืน ให้ใช้กลยุทธ์แบบพิเศษของในการซื้อขายแต่ละวัน หากตำแหน่งถูกเปิดและปิดภายในหนึ่งวัน ก็จะไม่มีการพิจารณาดอกเบี้ยธนาคาร

เราได้พูดคุยกันแล้วว่าไม่มีการซื้อขายฟอเร็กซ์ในวันหยุดและวันหยุดสุดสัปดาห์ นั่นคือเหตุผลที่สามารถคำนวณดอกเบี้ยธนาคารไม่เท่ากันในระหว่างสัปดาห์ ซึ่งหมายความว่าจะไม่นับดอกเบี้ยของธนาคารในวันหยุดและส่วนที่เกี่ยวข้องจะถูกส่งผ่านไปยังรอบวันของสัปดาห์ เมื่อพิจารณาแล้วว่ามี 7 วันในหนึ่งสัปดาห์ เราอาจพบกับสถานการณ์ได้เมื่อวันจันทร์, วันอังคาร, วันพฤหัสบดีและวันศุกร์ บัญชีดอกเบี้ยธนาคารจะอยู่ที่ 1/7 ตามลำดับ แต่คิดเป็น 3/7 ในวันพุธ ตามกฎแล้วโบรกเกอร์จะนำเสนอตารางที่แสดงการกระจายดอกเบี้ยของธนาคารในวันของสัปดาห์ ควรจำไว้ว่าดอกเบี้ยธนาคารจะถูกคำนวณทุกวัน! จำเป็นต้องรู้ว่าประเทศต่างๆสามารถปรับอัตราดอกเบี้ยได้ตลอดเวลาเพื่อควบคุมสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในประเทศ นั่นคือเหตุผลที่จำเป็นต้องติดตามข่าวเศรษฐกิจทั่วโลกเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากปัญหาของดัชนีเศรษฐกิจ

บทความแนะนำ

ฝากเงินขั้นต่ำได้เท่าไหร่

ฝากเงินขั้นต่ำได้เท่าไหร่

ไม่สามารถเปิดตำแหน่งได้

ขั้นตอนที่ลูกค้าของโบรกเกอร์ชั้นนำ InstaForex ควรทำเมื่อไม่สามารถเปิดตำแหน่ง (คำสั่ง) ได้

เติมเงินในบัญชีของคุณโดยใช้วิธีใดวิธีหนึ่งที่มีอยู่